วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ตัวแปรและสมมติฐานการวิจัย

ให้นำข้อมูลจากงานวิจัยที่นำมาใช้ในการสอบ midterm มาใช้ในการตอบปัญหา ดังนี้

ชื่อเรื่องงานวิจัย
วัตถุประสงค์งานวิจัย
สมมติฐานการวิจัย

จากสมมติฐานสามารถบ่งชี้
  - ตัวแปรต้น
  - ตัวแปรตาม
  - กลุ่มตัวอย่าง
  - เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
 

(สั่งเมื่อ 8 ส.ค. 2555)

4 ความคิดเห็น:

  1. ชื่องานวิจัย : การพัฒนาระบบการจัดการความรู้สำหรับส่วนงานพัฒนาวิชาการโรงเรียนเทคโนโลยีสยาม

    วัตถุประสงค์งานวิจัย :
    1.เพื่อพัฒนาระบบการจัดการความรู้สำหรับส่วนงานพัฒนาวิชาการโรงเรียนเทคโนโลยีสยามในรูปแบบของเว็บแอพพลิเคชั่น
    2.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้งานที่ใช้ระบบการจัดการความรู้สำหรับส่วนงานพัฒนาวิชาการโรงเรียนเทคโนโลยีสยามที่พัฒนาขึ้นในรูปแบบของเว็บแอพพลิเคชั่น

    สมมติฐานงานวิจัย :
    1.ระบบการจัดการความรู้สำหรับส่วนงานพัฒนาวิชาการโรงเรียนเทคโนโลยีสยามที่พัฒนาขึ้นผ่านการประเมินของผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดี

    จากสมมติฐานการวิจัยสามารถบ่งชี้ :
    ตัวแปรต้น : ระบบการจัดการความรู้สำหรับส่วนงานพัฒนาวิชาการโรงเรียนเทคโนโลยีสยาม
    ตัวแปรตาม : ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญหลังใช้งานระบบการจัดการความรู้สำหรับส่วนงานพัฒนาวิชาการโรงเรียนเทคโนโลยีสยามที่พัฒนาขึ้น
    กลุ่มตัวอย่าง : ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความรู้
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย : แบบสอบถาม

    2. ความคิดเห็นของผู้ใช้งานระบบการจัดการความรู้สำหรับส่วนงานพัฒนาวิชาการโรงเรียนเทคโนโลยีสยามที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับดี

    จากสมมติฐานการวิจัยสามารถบ่งชี้ :
    ตัวแปรต้น : ระบบการจัดการความรู้สำหรับส่วนงานพัฒนาวิชาการโรงเรียนเทคโนโลยีสยาม
    ตัวแปรตาม : ความคิดเห็นของผู้ใช้งานหลังใช้งานระบบการจัดการความรู้สำหรับส่วนงานพัฒนาวิชาการโรงเรียนเทคโนโลยีสยามที่พัฒนาขึ้น
    กลุ่มตัวอย่าง : บุคลากรโรงเรียนเทคโนโลยีสยาม
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย : แบบสอบถาม

    ตอบลบ
  2. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้กระบวนการคิดเชิงตรรกะ
    วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

    1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
    1.2.1 เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้กระบวนการคิดเชิงตรรกะ
    วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
    1.2.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนด้วย
    บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
    1.2.3 เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการคิดเชิงตรรกะก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนด้วย
    บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

    1.3 สมมติฐานการวิจัย
    1.3.1 ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้กระบวนการคิดเชิงตรรกะ
    วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้นมีค่าตามเกณฑ์หรือมากกว่า 80/80
    ตัวแปรต้น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้กระบวนการคิดเชิงตรรกะ
    ตัวแปรตาม ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้กระบวนการคิดเชิงตรรกะ
    กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบทดสอบ

    1.3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้กระบวนการคิดเชิงตรรกะ วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ .05
    ตัวแปรต้น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้กระบวนการคิดเชิงตรรกะ
    ตัวแปรตาม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียน
    กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบทดสอบ

    1.3.3 ความคิดเชิงตรรกะหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้น สูงกว่า
    ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    ตัวแปรต้น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้กระบวนการคิดเชิงตรรกะ
    ตัวแปรตาม ความคิดเชิงตรรกะหลังเรียน
    กลุ่มตัวอย่าง ผู้เรียน
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบทดสอบ




    ตอบลบ
  3. ชื่องานวิจัย การพัฒนาเว็บฝึกอบรมแบบร่วมมือ เรื่อง ISO 9001 สำหรับพนักงานบริษัท เอเอสเอ กรุ๊ป

    1. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
    1.1 เพื่อศึกษากรอบแนวคิดในการพัฒนาเว็บฝึกอบรมแบบร่วมมือ เรื่อง ISO 9001 สำหรับ
    พนักงานบริษัท เอเอสเอ กรุ๊ป
    1.2 เพื่อพัฒนาเว็บฝึกอบรมแบบร่วมมือ เรื่อง ISO 9001 สำหรับพนักงานบริษัท เอเอสเอ กรุ๊ป
    1.3 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรมก่อนและหลังการฝึกอบรม โดยใช้เว็บฝึกอบรม
    แบบร่วมมือ เรื่อง ISO 9001
    1.4 ศึกษาความพึงพอใจในการใช้เว็บฝึกอบรมแบบร่วมมือ เรื่อง ISO 9001 สำหรับพนักงาน
    บริษัท เอเอสเอ กรุ๊ป

    2. สมมุติฐานการวิจัย
    2.1 ผลสัมฤทธิ์หลังการฝึกอบรม ของพนักงานบริษัท เอเอสเอ กรุ๊ป ที่ฝึกอบรมเว็บฝึกอบรม
    แบบร่วมมือ เรื่อง ISO 9001 สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนการฝึกอบรมอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ
    - ตัวแปรตาม : ผลสัมฤทธิ์หลังการฝึกอบรม
    - ตัวแปรต้น : การฝึกอบรมพนักงาน
    - กลุ่มตัวอย่าง : พนักงานบริษัท เอเอสเอ กรุ๊ป
    - เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย : แบบทดสอบ

    2.2 พนักงานบริษัท เอเอสเอ กรุ๊ป ในการฝึกอบรมบนเว็บแบบร่วมมือ โดยใช้เว็บฝึกอบรม
    แบบร่วมมือ เรื่อง ISO 9001 มีความพึงพอใจในระดับดีมาก
    - ตัวแปรตาม : ความพึงพอใจของพนักงาน
    - ตัวแปรต้น : การฝึกอบบรมแบบร่วมมือ
    - กลุ่มตัวอย่าง : พนักงานบริษัท เอเอสเอ กรุ๊ป
    - เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย : แบบสอบถาม

    ตอบลบ
  4. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเว็บในรูปแบบการ์ตูนสองมิติและสามมิติร่วมกับเกมวิชาพระพุทธศาสนา

    วัตถุประสงค์ของการวิจัย
    1. เพื่อพัฒนาบทเรียน WBI นําเสนอด้วยรูปแบบการ์ตูนสองมิติและสามมิติร่วมกับเกม วิชาพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
    2. เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน WBI นําเสนอด้วยรูปแบบการ์ตูนสองมิติและสามมิติร่วมกับเกม วิชาพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
    3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน WBI นําเสนอด้วยรูปแบบการ์ตูนสองมิติและสามมิติร่วมกับเกม วิชาพระพุทธศาสนา

    สมมุติฐานการวิจัย
    1.3.1 ประสิทธิภาพของบทเรียน WBI นําเสนอด้วยรูปแบบการ์ตูนสองมิติและสามมิติร่วมกับเกม วิชาพระพุทธศาสนามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์อย่างน้อย 85/85

    จากสมมติฐานการวิจัยสามารถบ่งชี้ :
    ตัวแปรต้น บทเรียน WBI นําเสนอด้วยรูปแบบการ์ตูนสองมิติและสามมิติร่วมกับเกม วิชาพระพุทธศาสนา
    ตัวแปรตาม ประสิทธิภาพของบทเรียน WBI
    กลุ่มตัวอย่าง ผู้เรียน
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบทดสอบ

    1.3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน WBI นําเสนอด้วยรูปแบบการ์ตูนสองมิติและสามมิติร่วมกับเกมวิชาพระพุทธศาสนาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

    จากสมมติฐานการวิจัยสามารถบ่งชี้ :
    ตัวแปรต้น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน WBI นําเสนอด้วยรูปแบบการ์ตูนสองมิติและสามมิติร่วมกับเกมวิชาพระพุทธศาสนา
    ตัวแปรตาม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
    กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบทดสอบ

    ตอบลบ